ศึกษาดูงานนอกพื้นที่

เสียงเพรียกจากพงไพร

ภูมิศาสตร์มหาสารคาม ขอเป็นหนึ่งเสียงในการอนุรักษ์ทรัพยากรของโลกให้คงอยู่ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

"Giant clam" หรือ หอยมือเสือยักษ์

"Giant clam"

SRL_หอยมือเสือยักษ์_lg
     หอยมือเสือยักษ์ (อังกฤษ: Giant clam; ชื่อวิทยาศาสตร์: Tridacna gigas, /ไทร-เดก-นา-ไก-เกส/) เป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังจำพวกมอลลัสกา เป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ใกล้สูญพันธุ์ เป็นหอยที่อาศัยอยู่ใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก และ มหาสมุทรอินเดีย
โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มหอยสองฝา (Bivalves หรือ Pelecypods) มีฝาเปลือก 2 ชิ้นประกบติดกันทางด้านล่าง ขอบด้านบนหยักเป็นคลื่น บนเปลือกเป็นแนวสันยาวโค้งจากฐานมาถึงขอบเปลือกข้างละประมาณ 4–5 แนว มีเกล็ดเปลือกเป็นแผ่นบางๆ ระบายเป็นชั้นๆ ขนานกันในแนวขวางโดยรอบเปลือกด้านนอก
 
     ฝาทั้งสองด้านของหอยมือเสือยักษ์ ยึดติดกันด้วยเอ็น ฝาด้านบนจะเปิดออกเพื่อรับแสงและจะแผ่ส่วนเนื้อเยื่อที่เรียกว่าแมนเทิล (Mantle) ซึ่งมีสีสันสวยงามออกมา ลวดลายบนแมนเทิลของหอยแต่ละตัวจะไม่เหมือนกัน ส่วนที่เปลือกประกบกันอยู่เป็นบานพับเปลือก
 
     ต่อจากบานพับเปลือกออกมาจะมีส่วนที่ลักษณะเป็นช่องสำหรับให้เส้นใยเนื้อ เยื่อที่เรียกว่า บิสซัส (Byssus) ทำหน้าที่เชื่อมยึดตัวหอยให้เกาะติดกับหินหรือวัสดุใต้น้ำ หอยจะมีน้ำหนักได้ถึง 200 กิโลกรัม กว้าง 120 เซนติเมตร มีชีวิตยืนยาวได้ถึง 100 ปีหรือมากกว่า
 
     จัดเป็นหอยสองฝาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ติดอยู่ในอนุสัญญาไซเตส (CITES) ในน่านน้ำไทยไม่พบตัวที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่พบเป็นซากฟอสซิล ปัจจุบันยังไม่สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในประเทศไทย
 
     หอยชนิดนี้มีศัตรูทีสำคัญคือมนุษย์เพราะเนื้อของหอยถือว่าเป็นอาการอันโอชะในประเทศญี่ปุ่น ที่รูปจักกันในนาม Himejako เปลือกของมันก็เป็นที่ต้องการทางการตลาด
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น