ศึกษาดูงานนอกพื้นที่

เสียงเพรียกจากพงไพร

ภูมิศาสตร์มหาสารคาม ขอเป็นหนึ่งเสียงในการอนุรักษ์ทรัพยากรของโลกให้คงอยู่ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

แพนด้าแดง


"แพนด้าแดง"


SRL_แพนด้าแดง_lg
แพนด้าแดง (อังกฤษ: Red panda, Shining cat; จีน: 小熊貓 ) สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Ailurus fulgens อยู่ในวงศ์ Ailuridae จัดเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในวงศ์นี้ที่ยังสืบทอดสายพันธุ์อยู่ จึงจัดเป็นซากดึกดำบรรพ์มีชีวิตอยู่ชนิดหนึ่ง และเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Ailurus
       มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแรคคูนและกระรอกรวมกัน หัวมีขนาดใหญ่ จมูกแหลม ขาสั้นคล้ายหมี ขนตามลำตัวมีหลากหลาย มีทั้งสีน้ำตาลเข้ม น้ำตาลเหลืองและน้ำตาลแดง ขนบริเวณลำคอยาวและนุ่มฟู หางเป็นพวงยาวคล้ายกับหางของกระรอก มีลายปล้องสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีความลำตัวและหัว 51 – 64 เซนติเมตร หางยาว 50 – 63 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 3 – 4.5 กิโลกรัม
 
     มีการกระจายพันธุ์พบตามแนวเทือกเขาหิมาลัย ตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศอินเดีย, ธิเบต, เนปาล, ภูฏาน, จีน, ภาคเหนือของพม่า และภาคเหนือของประเทศลาวบริเวณที่ติดกับจีน โดยอาศัยอยู่ในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ 1,500 – 4,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล
 
     มีพฤติกรรมออกหากินตามลำพัง มักหากินบนต้นไม้ กินอาหารเพียงไม่กี่ประเภท โดยกินเฉพาะใบไม้อ่อนเท่านั้น บางครั้งอาจกินไข่นก สัตว์ขนาดเล็กและผลไม้บางชนิดด้วย ใช้เวลาตอนกลางวันในการนอนหลับพักผ่อน แพนด้าแดงตัวผู้จะหวงอาณาเขตมากและมักเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ แต่แพนด้าแดงตัวเมียจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ครอบครองของตัวเอง บางครั้งตัวผู้อาจเข้ามาหากินภายในอาณาเขตของตัวเมียด้วย
 
     โดยทั่วไปอาณาเขตของแพนด้าแดงตัวผู้จะกว้างประมาณ 1.1 – 9.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนอาณาเขตของตัวเมียจะกว้างประมาณ 1.0 – 1.5 ตารางกิโลเมตร ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนมกราคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยตัวเมียจะยอมให้ตัวผู้ผสมพันธุ์อยู่เพียง 1 – 3 วันเท่านั้น แม่แพนด้าแดงใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 90 – 145 และจะออกลูกในโพรงไม้หรือถ้ำเล็ก ๆ
 
     ออกลูกครั้งละ 4 ตัว ลูกที่เกิดใหม่จะยังมองไม่เห็น มีสีขนตามลำตัวออกสีเหลืองอ่อน และจะกินนมแม่อยู่นาน 5 เดือน หลังจากนั้นจึงหย่านมและเปลี่ยนมากินใบไผ่แทน เมื่ออายุได้ 2 ปี ก็จะแยกออกไปหากินตามลำพัง มีข้อสังเกตว่า แพนด้าแดงที่อยู่บริเวณภาคเหนือของอินเดียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวที่อยู่ค่อนมาทางเอเชียตะวันออก ซึ่งเป็นชนิดย่อยที่แยกออกไป
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น