ศึกษาดูงานนอกพื้นที่

เสียงเพรียกจากพงไพร

ภูมิศาสตร์มหาสารคาม ขอเป็นหนึ่งเสียงในการอนุรักษ์ทรัพยากรของโลกให้คงอยู่ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


หลุมแบริงเจอร์ : Barringer crater

สำรวจโลก_Barringer_Crater_lg
      หลุมแบริงเจอร์ : Barringer crater เป็นหลุมที่เกิดจากอุกาบาต ตั้งอยู่ที่รัฐแอริโซน่า สหรัฐอเมริกา อายุ 49,000 ปี เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.2 กิโลเมตร ลึก 174 เมตร เป็นหลุมอุกาบาตที่ชัดเจน และคงสภาพเดิมไว้ได้มากที่สุด และมีขอบสูงกว่าที่ราบโดยรอบ 45 เมตร
 จากหลักฐานเชื่อว่าเกิดจากดาวตกที่พุ่งเข้าชนมีนิกเกิลเหล็กเป็นองค์ประกอบหลัก ขนาดราว 45 เมตร ความเร็ว 12.8 กิโลเมตรต่อวินาที พลังงานในการชนครั้งนั้น เทียบเท่ากับระเบิด ทีเอ็นที หนัก 10 เมกะตัน
 
      หลุมนี้พบในศตวรรษที่ 19 โดยชาวยุโรปที่เข้ามาบุกเบิกดินแดนแถบนี้ ในปี คศ.1903 แดเนียล เอ็ม แบร์ริงเจอร์ (Daniel M. Barringer) นักธุรกิจและวิศวกรเหมืองแร่ ได้ซื้อที่ดินและหลุมนี้ไว้โดยหวังว่าจะสามารถขุดเอาเหล็กบริสุทธิ์จากอุกาบาตไปขาย แต่ใช้เวลาถึง 27 ปีก็ไม่สำเร็จ เนื่องจากเนื้อสสารของดาวตกได้กลายเป็นไอไป เพราะความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีกับบรรยากาศ
 
      แต่ปัจจุบันหลุมอุกาบาตนี้ได้สร้างรายได้ให้กับครอบครัวแบร์ริงเจอร์อย่างต่อเนื่อง เพราะสถานที่แห่งนี้เป็นแหล่งท่องเมทียวสำคัญในรัฐแอริโซนา

ที่มา : http://www.nextsteptv.com

หุบเขาโมนูเมนต์ : Monument Valley


หุบเขาโมนูเมนต์ : Monument Valley

สำรวจโลก_Monumen_lg
      หุบเขาโมนูเมนต์ : Monument Valley ตั้งอยู่ที่เส้นเขตแดนระหว่างรัฐยูทาห์กับรัฐแอริโซนาทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศสหรัฐอเมริกา ชื่อหุบเขามีที่มาจากแท่งหินค้ำขนาดมหึมา ซึ่งกระจัดกระจายอยู่บนที่ราบไม้พุ่มอันแห้งแล้ง ภูมิภาคแถบนี้เต็มไปด้วยแท่งหินหรือซากหินที่หลงเหลือจากการสึกกร่อน
 นักธรณีวิทยาเรียกแท่งหินลักษณะดังกล่าวนี้ว่า”โมนูเมนต์”  ซึ่งมีลักษณะคล้ายสิ่งก่อสร้างจากฝีมือมนุยษ์เช่น ตึกสูง หินแท่งรูปร่างแปลกตาจำนวนมากเหล่านี้ถูกเรียกขานว่า”หินรูปประสาท”ซึ่งเป็นแท่งหินที่มีลักษณะยอดราบ หรือเรียกอีกอย่างเนิน”เมซา”  สูงกว่า 300 เมตร และด้านบนมีหินคล้ายใบเสมาปรากฏอยู่
 
      นอกจากนี้ยังมี”หินรูปถุงมือ”ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินยอดป้านดูคล้ายนิ้วมือทั้งสี่ ไม่ไกลมีแท่งหินรูป”แม่ไก่ในรัง” ถัดมาเป็น”เนินยอดบ้านเมอร์ริค”และ”เนินยอดบ้านมิตเชล” และมี”หินรูปแม่อธิการ”และ”หินแม่ชีทั้งสาม”ซึ่งทั้งสองเนินเป็นหินที่สูงที่สุดในกลุ่มแท่งหิน สูงกว่า 245 เมตร
 
      เมื่อประมาณ 250 ล้านปีที่แล้ว ทรายสีแดงของพื้นที่นี้เคยปกคลุมด้วยทะเลตื้นๆ โคลนซึ่งจมสะสมอยู่บนพื้นท้องทะเลได้กดลงบนทราย ทำให้กลาย ทำให้เกิดหินทรายทีมีรูพรุน ส่วนโคลนค่อยๆกลายสภาพเป็นหินดินดานต่อมาน้ำทะเลค่อยๆตื้นเขินขึ้น และเมื่อ 70 ล้านปีที่แล้วเปลือกโลกเกิดการดันตัวอย่างรุนแรงจนสูงขึ้นมา ทำให้เปลือกโลกส่วนนั้นมีลักษณะเป็นรูปโดม ก่อนเย็นตัวลงและแข็งตัวในที่สุด พื้นที่ซึ่งเคยอยู่ใต้ทะเลจึงกลายเป็นที่ราบสูงหินทรายอันกว้างใหญ่ ปกคลุมด้วยหินดินดานและหินกรวดมน หลายปีต่อมา ชั้นหินนี้ถูกลมและน้ำแปรเปลี่ยนรูป โดยตอนแรกเป็นภูเขายอดราบ มีหุบผาชันและร่องธารพาดผ่านไขว้ไปมา กลายเป็นเนินเมซาทีมีพื้นที่ขนาดเล็กลงและในทีสุดก็เป็นแท่งหินสูงหรือเนินป้าน
 
      พื้นที่ส่วนใหญ่ไม่เหมาะแก่การดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ แทบเรียกได้ว่าไร้ร่องรอยของมนุษย์ มีเพียงอินเดียนแดงชนเผ่านาวาโฮอาศัยอยู่ ซึ่งยังเลี้ยงแกะและแพะในถิ่น นอกจากนี้ ยังมีกระต่าย และ พวกสัตว์เลือดเย็นเช่น กิ่งก่าแผงคอ คางคกมีเขา และ งูหางกระดิ่ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยเพียง 20 เซนติเมตรต่อปี ไม่พืชทนแล้งขึ้นบ้างเช่น จูนิเพอร์ สนพินยอน และ กระบองเพชร
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

อุทยานแห่งชาติหวงหลง


อุทยานแห่งชาติหวงหลง


SRL_huanglong_lg
      หวงหลง :  Huanglong   จีนตัวย่อ: 黄龙风景名胜区  แหล่งมรดกโลกที่งดงามด้วยภูมิประเทศภูเขาสูงยอดปกคลุมด้วยหิมะ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน ประเทศจีน มีความหลากหลายทางระบบนิเวศ ทั้งทางกายภาพ เช่น น้ำตก และน้ำพุร้อน หรือชีวภาพ แพนด้าและลิงจมูกเชิด ยังสามารถพบเห็นได้ ณ ที่นี่อีกด้วย
      ภูมิทัศน์ของHuanglong เป็นภูเขาที่ค่อนข้างง่ายสำหรับการปีนขึ้นไปและเป็นภูเขาปกคลุมไปด้วยต้นไม้ พืช ยังสระว่ายน้ำแร่จำนวนมากและน้ำตกขนาดเล็กอีกมากมาย
 
      เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางธรณีวิทยามาเป็นพันๆ ปี ประกอบด้วยสัณฐานทางธรณีวิทยาที่มีความหลายหลาย ทำให้เกิด Huanglong ขึ้นมา
 
      ได้มีการก่อสร้างวัดหวงหลงขึ้น เพื่อเซ่นไหว้มังกรเหลือง แต่นั้นมาความงดงามเป็นเอกของธารน้ำหวงหลงจึงได้อวดสู่สายตาของชาวโลก คำว่า “หวงหลง” แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “มังกรเหลือง” ซึ่งเป็นคำที่ใช้เปรียบเปรยแนวหินสีเหลือง ที่เกิดจากการจับตัวของแคลเซียมที่ทอดตัวยาวประมาณ 7 กิโลเมตร และกว้าง 300 เมตร คล้ายมังกรสีเหลือง
 
      หวงหลงได้จดทะเบียนร่วมกันเป็นมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 16 เมื่อปี พ.ศ. 2535ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้
      (vii) – เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลก
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

หลุมอุกกาบาตโบราณ ทะเลสาบโบซัมทวี


หลุมอุกกาบาตโบราณ ทะเลสาบโบซัมทวี


สำรวจโลก_lake-bosumtwi_lg
      หลุมอุกกาบาตโบราณ ทะเลสาบโบซัมทวี (Lake Bosumtwi Crater)ตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐกานา กว้างขนาด 10.5 กิโลเมตร อายุประมาณ 1.07 ล้านปี หากมองโดยทั่วไปจะไม่ทราบว่านี่คือหลุมอุกกาบาต เพราะพื้นที่หลุมที่เกิดขึ้นกลายเป็นทะเลสาบโมซัมทวี โดยมีป่าดงดิบล้อมรอบ

      ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์และมีสัตว์ป่ามากมาย เมื่อเกิดหลุมอุกกาบาตขึ้น จึงถูกเติมเต็มด้วยน้ำฝนจนกลายเป็นทะเลสาบ
 
      ชื่อ Bousumtwi หรือ Bosomtwe เป็นภาษาพื้นเมืองหมายถึง เทพแอนทิโลป (Antelope God) อันมาจากตำนานพื้นเมืองที่เล่าไว้ว่า นายพรานชาวแอชานที (Ashanti) ได้ไล่ตามแอนทีโลปในป่าบริเวณนี้ แต่ไม่พบเนื่องจากแอนทีโลปหายไปในแอ่งน้ำเล็ก ๆ ชาวแอชานที ถือว่าทะเลสาบแป่งนี้เป็นทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ และเป็ฯสถานที่ซึ่งวิญญาณของผู้วายชนม์มากล่าวร่ำลาเทพเจ้าทวี (Twi)
 
      ทะเลสาบตอนนี้เป็นพื้นที่รีสอร์ทที่เป็นที่นิยมกับคนในท้องถิ่นสำหรับการเดินทางมาน้ำตกปลาและล่องเรือมีหมู่บ้านริมทะเลสาบ มีโรงพยาบาลเล็กๆอยู่แถวนั้นด้วย
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

น้ำตกอีกวาซู: Iguazu Falls


น้ำตกอีกวาซู: Iguazu Falls


สำรวจโลก_Iguacu_lg
      น้ำตกอีกวาซู: Iguazu Falls  แปลว่า “สายน้ำอันยิ่งใหญ่” เป็นคำมาจากภาษากวารานี (Guarani) ชาวอินเดียนแดงเผ่าดั้งเดิม น้ำตกอีกวาซูตั้งอยู่บริเวณรอยต่อพรมแดนระหว่างประเทศบราซิลกับประเทศอาร์เจนตินา เป็นน้ำตกที่ใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาใต้
 ใหญ่กว่าน้ำตกไนแอการาประมาณ 30 เท่า อย่างไรก็ตามขนาดของน้ำตกใกล้เคียงกับน้ำตกวิกตอเรียในทวีปแอฟริกา
 
       น้ำตกอีกวาซูเกิดจากแม่น้ำอีกวาซูซึ่งไหลมาจากที่ราบสูงปารานา ตกจากขอบที่ราบสูงขนาดใหญ่ลงสู่พื้นที่ราบต่ำกว่า จึงกลายเป็นน้ำตกขนาดใหญ่เป็นแนวยาวกว่า 4 กิโลเมตร สูงกว่า 269 ฟุต ประกอบด้วยน้ำตกน้อยใหญ่อีก 275 แห่ง ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนมีนาคมปริมาณน้ำมีมากถึงกว่า 13.6 ล้านลิตรต่อวินาที แต่ในช่วงฤดูร้อน คือระหว่างเมษายนถึงเดือนตุลาคม ปริมาณน้ำจะลดลงเหลือ 2.3 ล้านลิตรต่อวินาที
 
      บริเวณรอบ ๆ น้ำตกจะเกิดละอองน้ำอยู่ตลอดเวลาและมีเสียงดังไปไกลกว่า 24 กิโลเมตร บนฝั่งประเทศบราซิลจะมองเห็นน้ำตกได้ทั่วถึงและงดงาม แต่ทางฝั่งประเทศอาร์เจนตินาสามารถเข้าชมน้ำตกได้ใกล้กว่า
 
      ประเทศบราซิลและประเทศอาร์เจนตินาต่างประกาศให้บริเวณพื้นที่ป่าริมน้ำตกเป็นเขตอุทยานแห่งชาติของทั้งสองประเทศ เพื่อคุ้มครองรักษาสัตว์ป่าเขตร้อนที่มีอยู่อย่างชุกชุม เช่น นกไทนามัส แมวป่าโอเซล เสือจากัวร์ สมเสร็จ เพ็คคารี และสัตว์นานาชนิดอีกมากมาย
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

ฮาลองเบย์ : Halong Bay


ฮาลองเบย์ : Halong Bay


SRL_Ha_Long_Bay_lg
      อ่าวหะล็อง หรือที่นิยมเรียกตามชื่อในภาษาอังกฤษว่า ฮาลองเบย์ : Halong Bay  เป็นอ่าวแห่งหนึ่งในพื้นที่ของอ่าวตังเกี๋ยทางตอนเหนือของประเทศเวียดนาม ใกล้ชายแดนติดต่อกับประเทศจีน มีพื้นที่ทั้งหมด 1,500 ตารางกิโลเมตร และมีชายฝั่งยาว 120 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางตะวันออก 170 กิโลเมตร
       ชื่อตามการออกเสียงในภาษาเวียดนามเขียนได้ว่า “Vinh Ha Long” หมายถึง “อ่าวแห่งมังกรผู้ดำดิ่ง”
      ในอ่าวหะล็องมีเกาะหินปูนจำนวน 1,969 เกาะโผล่พ้นขึ้นมาจากผิวทะเล บนยอดของแต่ละเกาะมีต้นไม้ขึ้นอยู่อย่างหนาแน่น หลายเกาะมีถ้ำขนาดใหญ่อยู่ภายใน ถ้ำที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าวคือ ถ้ำเสาไม้ (Hang Đầu Gỗ) หรือชื่อเดิมว่า “กร็อตเดแมร์แวย์” (Grotte des Merveilles) ซึ่งตั้งชื่อโดยนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสที่มาเยี่ยมชมอ่าวเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายในถ้ำประกอบไปด้วยโพรงกว้าง 3 โพรง มีหินงอกและหินย้อยขนาดใหญ่อยู่จำนวนมาก
 
       เกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบริเวณอ่าว 2 เกาะ คือ เกาะกั๊ตบ่าและเกาะต่วนเจิว ทั้งสองเกาะนี้มีคนตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างถาวร บนเกาะมีโรงแรมและชายหาดจำนวนมากคอยให้บริการนักท่องเที่ยว ส่วนเกาะขนาดเล็กอื่น ๆ บางเกาะก็มีชายหาดที่สวยงามที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม บางเกาะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง และบางเกาะยังเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์หลายชนิด เช่น ไก่ป่า ละมั่ง ลิง และกิ้งก่าหลายชนิด เกาะเหล่านี้มักจะได้รับการตั้งชื่อจากรูปร่างลักษณะที่แปลกตา
 
      ตามตำนานพื้นบ้านได้กล่าวไว้ว่า ในอดีตนานมาแล้ว ระหว่างที่ชาวเวียดนามกำลังต่อสู้กับกองทัพชาวจีนผู้รุกราน เทพเจ้าได้ส่งกองทัพมังกรลงมาช่วยปกป้องแผ่นดินเวียดนาม มังกรเหล่านี้ได้ดำดิ่งลงสู่ท้องทะเลบริเวณที่เป็นอ่าวหะล็องในปัจจุบัน ทำให้มีอัญมณีและหยกพุ่งกระเด็นออก อัญมณีเหล่านี้กลายเป็นเกาะแก่งน้อยใหญ่กระจายอยู่ทั่วอ่าว เป็นเกราะป้องกันผู้รุกราน ทำให้ชาวเวียดนามปกป้องแผ่นดินของพวกเขาได้สำเร็จและก่อตั้งประเทศซึ่งต่อมาก็คือเวียดนามในปัจจุบัน
 
บางตำนานสมัยใหม่ก็กล่าวไว้ว่า ปัจจุบันยังมีสัตว์ในตำนานที่ชื่อว่า Tarasque อาศัยอยู่ที่ก้นอ่าว
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

พีระมิดคูฟู


พีระมิดคูฟู


SRL_cheops_lh
      พีระมิดคูฟู หรือ พีระมิดคีออปส์ นิยมเรียกกันโดยทั่วไปว่า มหาพีระมิดแห่งกีซา : The Great Pyramid of Giza เป็น พีระมิดในประเทศอียิปต์ที่มีความใหญ่โตและเก่าแก่ที่สุด ในหมู่พีระมิดทั้งสามแห่งกีซา เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในสมัย ฟาโรห์คูฟู (Khufu) แห่ง ราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งปกครองอียิปต์โบราณ เมื่อประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล หรือกว่า 4,600 ปีมาแล้ว
      เพื่อใช้เป็นที่เก็บรักษาพระศพ ไว้รอการกลับคืนชีพ ตามความเชื่อของชาวอียิปต์ในยุคนั้น มหาพีระมิดนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก และเป็นหนึ่งเดียว ในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ยุคโบราณ ที่ยังคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน
 
      เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จในสมัยของฟาโรห์คูฟู มหาพีระมิด มีความสูงถึง 147 เมตร นับจากก่อสร้างแล้วเสร็จ พีระมิดคูฟูนับเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลก เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานถึง 43 ศตวรรษ จนกระทั่ง มีการก่อสร้าง มหาวิหารลินคอล์น ที่ ประเทศอังกฤษ ซึ่งมียอดวิหารสูง 160 เมตร ในปี พ.ศ. 1843 ซึ่งต่อมายอดวิหารนี้ถูกพายุทำลายในปี พ.ศ. 2092 (ค.ศ. 1549) แต่ขณะนั้นส่วนยอดพีระมิดคูฟูก็สึกกร่อนลงจนมีความสูงไม่ถึง 140 เมตร ทำให้ วิหารเซนต์โอลาฟ (St. Olav’s Church) ในประเทศเอสโตเนีย ซึ่งเพิ่งก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2062 (ค.ศ. 1519) กลายเป็นสิ่งก่อสร้างสูงที่สุดในโลก
 
      ด้วยความสูงของยอดวิหาร 159 เมตร ปัจจุบันมหาพีระมิดมีความสูง ประมาณ 137 เมตร ซึ่งต่ำกว่าเมื่อแรกสร้างประมาณ 10 เมตร และรัฐบาลอียิปต์ได้ดำเนินการติดตั้ง โครงโลหะเพื่อแสดงถึงความสูงที่แท้จริง ขณะก่อสร้างแล้วเสร็จ ไว้ที่ส่วนยอดของ มหาพีระมิดคูฟู
      รูปทรงของพีระมิดมีลักษณะเฉพาะตัว ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ประกอบด้วยด้านสามเหลี่ยม 4 ด้าน ยอดสามเหลี่ยมแต่ละด้าน เอียงเข้าบรรจบกัน เป็นยอดแหลม ฐานทั้ง 4 ด้านของพีระมิด กว้างด้านละประมาณ 230 เมตร (756 ฟุต กว้างกว่า สนามฟุตบอล ต่อกัน 2 สนาม) คิดเป็นพื้นที่ฐานประมาณ 53,000 ตารางเมตรหรือประมาณ 33 ไร่ ฐานล่างสุดของพีระมิด ก่อขึ้นบนชั้นหินแข็ง ซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ชั้นทราย เพื่อป้องกันปัญหา การทรุดตัวของชั้นทราย ซึ่งจะมีผล กับความคงทนแข็งแรง ของโครงสร้างพีระมิด ผิวหน้าแต่ละด้านของ พีระมิดคูฟู ทำมุมเอียงประมาณ 52 องศา ซึ่งมีส่วนทำให้พีระมิด คงทนต่อการสึกกร่อน อันเนื่องมาจากพายุทราย
 
       ตามที่มีข้อมูลปรากฏในแหล่งต่างๆ อ้างถึง จำนวนหิน ที่นำมาก่อสร้าง พีระมิดคูฟู ต่างกันไปตั้งแต่ 2 ล้านถึง 2.6 ล้านก้อน ประมาณน้ำหนักเฉลี่ยก้อนละ 2.5 ตัน โดยจัดเรียงซ้อนกันขึ้นไปประมาณ 200 ชั้น คิดเป็นน้ำหนักรวมกว่า 6 ล้านตัน
      สิ่งที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งคือด้านทั้ง 4 ของพีระมิดหันออกในแนวทิศ เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ถูกต้องแม่นยำตามทิศจริงไม่ใช่ตามทิศเหนือแม่เหล็ก จึงไม่ใช่การกำหนดทิศด้วยเข็มทิศ ตำแหน่งของพีระมิดนั้น คลาดเคลื่อนจากทิศเหนือเพียง 3 ลิปดา 6 พิลิปดา แสดงถึงความสามารถของ ชาวอียิปต์โบราณ ในการประยุกต์ความรู้ทางดาราศาสตร์ มาใช้ในการกำหนดทิศทางได้เป็นอย่างดี
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

หุบเขาจิ่วจ้ายโกว : Jiuzhaigou Valley


หุบเขาจิ่วจ้ายโกว : Jiuzhaigou Valley


SRL_jiuzhaigou_valley_lg
      หุบเขาจิ่วจ้ายโกว เป็นพื้นที่อนุรักษ์ธรรมชาติทางตอนเหนือของมณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน มีชื่อเสียงจากน้ำตกหลายระดับชั้นและทะเลสาบที่มีสีสันงดงาม และได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อปี พ.ศ. 2535

      จิ่วจ้ายโกวตั้งอยู่ทางตอนใต้สุดของเทือกเขาหมินซาน ห่างจากเมืองเฉิงตูไปทางเหนือ 330 กิโลเมตร ถือเป็นส่วนหนึ่งของเทศมณฑล Nanping ในเขตปกครองตนเองชนชาติทิเบตและเชียงอาป้า ทางตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลเสฉวน ใกล้เขตแดนของมณฑลกานซู
 
      บริเวณหุบเขามีพื้นที่อย่างน้อย 240 ตารางกิโลเมตร ขณะที่องค์กรด้านการอนุรักษ์บางแห่งกำหนดให้มีพื้นที่ 600-700 ตารางกิโลเมตร โดยมีพื้นที่กันชนเพิ่มเข้ามา 400 – 600 ตารางกิโลเมตร ระดับความสูงจะแตกต่างไปตามแต่ละพื้นที่ โดยมีทั้งพื้นที่มีมีความสูง 1,998 – 2,140 เมตร (ที่ปากทางเข้าหุบเขาซูเจิ้ง) ไปจนถึง 4,558 – 4,764 เมตร (บนภูเขา Ganzigonggai ที่ส่วนยอดสุดของหุบเขา Zechawa)
 
      สภาพอากาศในหุบเขาจัดว่าหนาวเย็น ตลอดปีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 7.2 °C เดือนมกราคม -1 °C และเดือนกรกฎาคม 17 °C ปริมาณน้ำฝนตลอดทั้งปี 661 มิลลิเมตร โดยเป็นปริมาณระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคมราว 80%
 
      พื้นที่อันห่างไกลแห่งนี้มีชาวทิเบตและเชียงตั้งรกรากอยู่มานานหลายศตวรรษ แต่ไม่ได้มีการสำรวจอย่างเป็นทางการจนกระทั่งปี พ.ศ. 2515 มีการทำธุรกิจตัดไม้อย่างหนักจนถึงปี พ.ศ. 2522 ซึ่งรัฐบาลจีนได้สั่งห้ามกิจการดังกล่าว และประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติในปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่ง พ.ศ. 2527 จึงได้เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม โดยการวางกฎระเบียบและสถานที่ต่างๆภายในอุทยานเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2531 และในปี พ.ศ. 2535 องค์การยูเนสโกได้ประกาศพื้นที่นี้ให้เป็นมรดกโลก และเป็น World Biosphere Reserve ใน พ.ศ. 2540
 
      ตั้งแต่เริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชม จำนวนนักท่องเที่ยวได้เพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2527 มีนักท่องเที่ยว 5,000 คน พ.ศ. 2534 มี 170,000 คน พ.ศ. 2538 มี 160,000 คน และ พ.ศ. 2540 มี 200,000 คน โดยเป็นชาวต่างชาติประมาณ 3,000 คน ปี พ.ศ. 2545 มีผู้เยี่ยมชม 1,190,000 คน และในปี พ.ศ. 2547 มีผู้เยี่ยมชมเฉลี่ยวันละ 7,000 คน
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

มะม่วงหิมพานต์ : Anacardium occidentale


มะม่วงหิมพานต์ : Anacardium occidentale


SRL_มะม่วงหิมพานต์_lg
      มะม่วงหิมพานต์ : Anacardium occidentale เป็นไม้ดอกยืนต้น ในวงศ์Anacardiaceae มะม่วงหิมพานต์เป็นพืชพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือของบราซิล ซึ่งเรียกเป็นภาษาโปรตุเกสว่า Caju (ผล) หรือ Cajueiro (ต้น) ปัจจุบันเติบโตแพร่หลายทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน เพื่อใช้ประโยชน์จากเมล็ด และผลของมัน
      มะม่วงหิมพานต์เป็นไม้ไม่ผลัดใบ ลำต้นมีความสูง 10-12 เมตร ต้นเตี้ย สยายกิ่งก้านไม่สม่ำเสมอ ใบจัดเรียงเป็นแบบเกลียว ผิวมันลื่น รูปโค้งจนถึงรูปไข่ ความยาว 4-22 เซนติเมตร และกว้าง 2-15 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ส่วนดอกนั้นเกิดจาก ที่ยาวถึง 26 เซนติเมตร แต่ละดอกตอนแรกมีสีเขียวซีด จากนั้นสีสดเป็นแดงจัด มี 5 กลีบ ปลายแหลม เรียว ยาว 7-15 มิลลิเมตร
      ส่วนที่จะปรากฏไปเป็นผลของมะม่วงหิมพานต์นั้น ก็คือ ผลวิสามัญ (accessory fruit) รูปไข่ หรือรูปลูกแพร์ ซึ่งจะเติบโตจากฐานดอกขึ้นมา ผลมะม่วงหิมพานต์นี้มีชื่อเรียกในแถวอเมริกากลางว่า marañón เมื่อสุกจะมีสีเหลือง หรือส้มแดง มีความยาวประมาณ 5-11 เซนติเมตร
 
      ผลแท้ของมะม่วงหิมพานต์นั้นเป็นผลเมล็ดเดียว รูปไต หรือรูปนวมนักมวย งอกออกจากปลายของผลเทียม ความจริงแล้วในตอนแรกผลนั้นเติบโตบนต้นก่อน จากนั้นก้านดอกจะขยายตัวออกมาเป็นผลเทียม ภายในผลแท้นั้น เป็นเมล็ดเดี่ยว แม้ว่าโดยทั่วไปจะมองว่าส่วนเนื้อขาวนวลนั้นเป็นผลที่มีเปลือกแข็ง
 
      แต่ในทางพฤกษศาสตร์ถือว่า เป็นเมล็ด อย่างไรก็ตาม ส่วนของผลแม้นั้น นักพฤกษศาสตร์บางท่านถือว่าเป็นผลที่มีเปลือกแข็งก็มี เมล็ดนั้นห่อหุ้มด้วยเปลือกสองชั้น ประกอบด้วย ยางฟีโนลิก น้ำมัน พิษที่ระคายเคืองต่อผิวหนังอย่างรุนแรง บางคนแพ้มะม่วงหิมพานต์ แต่ปกติถือว่าก่อให้เกิดอาการแพ้น้อยกว่าผลเปลือกแข็งชนิดอื่นๆ
 
      ในประเทศไทย มะม่วงหิมพานต์พบได้ทั่วไปในภาคใต้ และมีชื่อเรียกตามสำเนียงภาษาถิ่นใต้แตกต่างกันไป เช่น กาหยู กาหยี (เข้าใจว่าเป็นคำยืมจากภาษามลายู ซึ่งยืมจากภาษาโปรตุเกสอีกทอดหนึ่ง) ม่วงเม็ดล่อ ม่วงเล็ดล่อ หัวครก เป็นต้น
 
      ปัจจุบันมะม่วงหิมพานต์พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเขตร้อน เพราะเติบโตได้อย่างเหมาะสมในสภาพอากาศที่ชื้น และอบอุ่น ทั้งในเอเชีย และอเมริกาใต้ นิยมใช้เนื้อภายในเมล็ดเป็นอาหารว่าง และยังเป็นผลิตภัณฑ์ส่งออกของอินเดีย เวียดนาม และบราซิล ทั้งสามประเทศนี้ มีอัตราการส่งออกถึง 90% ของผลิตภัณฑ์เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ทั่วโลก
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

โขดหินอุลูรู : Uluru


โขดหินอุลูรู : Uluru


SRL_Uluru_lg
      โขดหินอุลูรู : Uluru  หรือเรียกอีกอย่างได้ว่า”หินแอร์ส”(Ayers Rock) ชื่ออุลูรูเป็นชื่อทางการซึ่งใช้ในปัจจุบันเป็นภาษาอะบอริจินี ส่วนชื่อหินแอร์สนั้นตั้งตามชื่อ เซอร์เฮนรี แอร์ส นายกรัฐมนตรีของเซาธ์ออสเตรเลีย ซึ่งตั้งไว้ในปี ค.ศ. 1873 โขดหินอุลูรู ตั้งอยู่ในตอนกลางของประเทศออสเตรเลีย เป็นโขดหินขนาดใหญ่ที่โผล่จากพื้นดินโดดๆซึ่งสามารถมองเห็นได้ไกลกว่า 100 เมตร มีขนาดความสูง 348 เมตร เส้นรอบวงที่ฐานวัดได้ 9 กิโลเมตร จัดได้ว่าเป็นโขดหินที่ใหญ่ทีสุดในโลก
       ลักษณะเป็นหินทรายสีแดงเป็นหินอาร์โคส มีปริมาณแร่ฟันม้าหรือแร่เฟลด์สปาร์อยู่มาก มีสภาพการกัดเซาะของฝนและลมตามธรรมชาติ มีถ้ำและแอ่งน้ำ บริเวณผิวนอกของหินโดนความร้อนจากแสงอาทิตย์ ทำให้เกินผิวนอกแตกหลุดออกเป็นสะเก็ดและร่วมลงมาที่พื้นทับถมกันเป็นกำแพงภูเขาขนาดใหญ่ สีสันของหินเปลี่ยนแปลงตามเวลาซึ่งในแต่ละช่วงมีสีแตกต่างกัน ในตอนกลางวันแสงอาทิตย์เจิดจ้าทำให้มีแดง แต่พอตกเย็นสีสันจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง
 
      โขดหินอุลูรูจริงๆแล้วเป็นส่วนหนึ่งของยอดเขา ซึ่งจมอยู่ใต้ดินลึกลงไปถึง 6 กิโลเมตร โดยโขดหินนี้เคยเป็นส่วนหนึ่งของพื้นมหาสมุทรเมื่อประมาณ 550 ล้านปีที่แล้วตรงใจกลางทวีปออสเตรเลีย ต่อมาน้ำในมหาสมุทรลดลง เปลือกโลกก็เคลื่อนตัวดันให้โขดหินโผล่ขึ้นมา
 
      ตำนานของชาวอะบอริจินีกล่าวไว้ว่าโขดหินอุรูลูเป็นภูมิประเทศเส้นทางแห่งความฝัน บรรพบุรุษสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยจูคูร์ปา (ยุคแห่งช่วงฝัน) ซึ่งเป็นพื้นพิภพกำลังก่อตัว ในยุคนั้นบริเวณแถบโขดหินอุลูรูเป็นถิ่นของมนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้และมนุษย์งูคาร์เป็ต ครั้งหนึ่งมนุษย์งูคาร์เป็ตถูกมนุษย์งูพิษรุกรานซึ่งพวกมนุษย์งูพิษเป็นศัตรูจากแดนใต้ และพวกมนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้ก็ได้เข้ามช่วยเหลือมนุษย์งูคาร์เป็ต
      โดยหัวหน้าเผ่ามนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้โดยเจ้าแม่บูลาริก็ได้เป่าพิษร้ายแห่งความตายและเชื้อโรคเข้าใส่ศัตรู นอกจากนี้ยังมีตำนานที่เล่ากันอีกว่ามนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้นี้ได้ถูกศัตรูรุกรานโดยการปล่อยหมาป่าดิงโก้ ออกมากัด แต่โชคดีที่มนุษย์ครึ่งกระต่ายหลบหนีได้เพราะสามารถกระโดดได้ไกลกว่า
 
      ปัจจุบันนี้ชาวอะบอริจินีเชื่อว่าร่างของมนุษย์ครึ่งงูพิษถูกสาปให้กลายเป็นโขดหินอุลูรู และรอยน้ำไหลที่ด้านหนึ่งของหินเป็นรอยเลือด ส่วนรอยเท้ามนุษย์ครึ่งกระต่ายครึ่งจิงโจ้นั้นที่ทิ้งไว้ขณะวิ่งหนีศัตรูได้กลายเป็นถ้ำทั้งหลายที่ฐานโขดหิน
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน


อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน


SRL_Similan_lg
      อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ครอบคลุมพื้นที่ 80,000 ไร่ ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ เมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2525 คำว่า หมู่เกาะสิมิลัน ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด

      หมู่เกาะสิมิลัน สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเร่ย์ ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ
 
      เกาะสิมิลัน เกาะแปด เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีหาดทรายขาวละเอียด ใต้ทะเลมีปะการังหลายชนิด เป็นเกาะที่สามารถดำทั้งน้ำลึกและน้ำตื้น ด้านเหนือของเกาะมีหินขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายรองเท้าบู๊ต ถัดมาเป็นหินเรือใบ
 
      เกาะบางู เกาะเก้า เป็นเกาะเล็ก ๆ กองหินคริสต์มาสพอยต์ เป็นกองหินใต้น้ำขนาดใหญ่ มีความสวยงาม
      เกาะหัวกะโหลก หินปูซา เกาะเจ็ด มีลักษณะคล้ายหัวกะโหลก มีหุบเขาใต้น้ำ สามารถพบปะการังอ่อน กัลปังหา สามรถพบปลากระเบนราหู และปลาฉลามวาฬได้มากที่สุดในอุทยาน
      เกาะเมี่ยง เกาะสี่ เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับสอง เป็นที่ตั้งของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ (มส.1) มีสัตว์ที่หายาก เช่น ปูไก่
 
      พื้นที่บริเวณโดยรอบของเกาะหนึ่ง สอง และสาม หรือ เกาะหูยง เกาะปายัง และเกาะปาหยันได้ถูกสงวนให้เป็นพื้นที่วางไข่ของเต่าทะเล และห้ามไม่ให้นักท่องเที่ยวขึ้นเกาะโดยเด็ดขาด นอกจากนี้แล้วในปี พ.ศ. 2543 ทางกรมป่าไม้ในขณะนั้นได้สั่งปิดกองหินแฟนตาซ ซึ่งเป็นกองหินที่เคยสวยงามติดอันดับหนึ่งในสิบของโลกลง เนื่องจากสภาพของกองหินที่ทรุดโทรมลงอย่างมาก จากปัญหาจำนวนนักท่องเที่ยวที่มากเกินไป
 
      นอกจากนี้ปัญหาที่สำคัญของหมู่เกาะสิมิลันอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาการลักลอบจับปลาอย่างผิดกฎหมายจากจากชาวประมงในพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณเกาะบอน และเกาะตาชัยที่พบปัญหาการระเบิดปลาอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยสาเหตุหลักของปัญหานี้ คือ ความห่างไกลของเกาะทั้งสองทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง
      ในปี พ.ศ. 2550 ทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้ประกาศจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติหลายแห่ง รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลัน
ที่มา : http://www.nextsteptv.com

วัดคิโยะมิซุ : Kiyomizudera


วัดคิโยะมิซุ : Kiyomizudera


SRL_Kiyomizudera_lg
      วัดคิโยะมิซุ :  Kiyomizudera  ตั้งอยู่ทางตะวันออกของเมืองเคียวโตะ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัด ประวัติของวัดย้อนหลังไปได้ถึงปี 798 แต่อาคารต่างๆที่เห็นในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2176

      ชื่อของวัดซึ่งมีความหมายว่าน้ำบริสุทธิ์ มีที่มาจากน้ำตกที่ไหลผ่านเนินเขาลงมาบริเวณวัด เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 วัดคิโยะมิซุได้รับการเสนอชื่อเข้าร่วมพิจารณาคัดเลือกให้เป็น7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ และอาคารหลักของวัดนี้ยังได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในสมบัติประจำชาติญี่ปุ่นอีกด้วย
 
      อาคารหลักของวัดคิโยะมิซุเป็นที่รู้จักจากระเบียงขนาดใหญ่สูง 13 เมตร มีเสาไม้กว่าร้อยต้นรองรับ สร้างยื่นออกจากด้านข้างของเนินเขา จากระเบียงนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ที่สวยงามของเมืองเกียวโตะได้ วลีที่กล่าวว่า “กระโดดจากระเบียงวัดคิโยะมิซุ” ซึ่งหมายความว่า ตัดสินใจกะทันหัน หรือกล้าตัดสินใจ วลีนี้มีที่มาจากความเชื่อในสมัยเอะโดะที่ว่า หากผู้ใดสามารถกระโดดจากระเบียงวัดแล้วสามารถรอดชีวิตได้ ความปรารถนาของผู้นั้นจะสัมฤทธิ์ผล
 
      คำอธิบายที่น่าจะเป็นไปได้ในการรอดชีวิตจากการกระโดดระเบียงคือ ด้านล่างของระเบียงมีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่น ซึ่งอาจจะชะลอแรงจากการตกได้บ้าง ในปัจจุบันทางวัดห้ามมิให้มีการกระโดดระเบียง แต่ในสมัยเอโดะมีการบันทึกไว้ว่า มีผู้มากระโดดถึง 234 คน และรอดชีวิตได้คิดเป็นร้อยละ 85.4 ของทั้งหมด
      ข้างใต้อาคารหลักคือ น้ำตกโอตะวะ ซึ่งเป็นสายน้ำ 3 สายไหลลงสู่บ่อน้ำ ผู้มาเยี่ยมชมวัดมักจะมาดื่มน้ำจากน้ำตกนี้ด้วยถ้วยโลหะ ด้วยความเชื่อว่าสามารถบำบัดรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ และยังเชื่อกันว่าการดื่มน้ำจากสายน้ำตกทั้ง 3 นี้ มีความหมายถึงสุขภาพ อายุยืนยาว และความสำเร็จในการศึกษา
 
      ภายในบริเวณวัดเป็นที่ตั้งของศาลเจ้าอื่นๆจำนวนมาก ที่เป็นที่รู้จักดีคือ ศาลเจ้าจิชู (Jishu-jinja) ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสักการะเทพโอะคุนินุชิโนะ มิโกะโตะ (Okuninushino Mikoto) เทพแห่งความรักและเนื้อคู่ ภายในศาลเจ้ามี”ก้อนหินแห่งความรัก” 2 ก้อน ตั้งอยู่ห่างกัน 18 เมตร เชื่อกันว่า หากสามารถหลับตาเดินจากก้อนหินก้อนหนึ่งไปยังอีกก้อนหนึ่งได้ จะสมปรารถนาในความรัก
ที่มา : http://www.nextsteptv.com