ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ศึกษาดูงานนอกพื้นที่
เสียงเพรียกจากพงไพร
ภูมิศาสตร์มหาสารคาม ขอเป็นหนึ่งเสียงในการอนุรักษ์ทรัพยากรของโลกให้คงอยู่ต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556
GRM สำรวจพื้นที่ภาคสนาม ณ เกาะสมุย
ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ มมส. ออกศึกษาสำรวจลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ณ เกาะสมุย
เมื่อวันที่ 5-9 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.สาวิตรี รตโนภาส สุวรรณลี หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้นำนิสิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์พัฒนาเพื่อการจัดการทรัพยากร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 34 คน ออกศึกษาสำรวจลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ณ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ตามโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ทางภูมิศาสตร์ได้มีการส่งเสริมให้นิสิตได้นำเอาความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในประสบการณ์จริงได้อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นิสิตได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันรู้จักการทำงานเป็นทีมมากขึ้น โดยได้ทำการแบ่งนิสิตออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินทางและลักษณะทางกายภาพของแต่ละภาค คือ
1. ศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ
2. ศึกษาลักษณะทางสังคม
3. ศึกษาลักษณะทางวัฒนธรรม และ
4. ศึกษาลักษณะทางการท่องเที่ยว
ซึ่งในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ได้มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (Global Positioning Systems-GPS) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems-GIS) ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความมั่นคงของประเทศในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ได้มีการประยุกต์และพัฒนาการนำมาได้ซึ่งข้อมูลไปใช้ รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมไว้ใช้ในเฉพาะหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และสอดคล้องตามภารกิจการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ
เนื่องจากการเรียนในสาขาวิชาภูมิศาสตร์พัฒนาเพื่อการจัดการทรัพยากรนั้นมีความจำเป็นต้องศึกษาลักษณะ ภูมิอากาศ และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ของพื้นที่จริงประกอบกับองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในห้องเรียน โดยลักษณะภูมิอากาศนั้นเป็นการศึกษาลักษณะจำเพาะของภูมิภาคเขตร้อน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อการเกิด ลม ฟ้า อากาศ แร่ หิน ต่างๆ และการศึกษาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นการเน้นในเรื่องของเครื่องมือ เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาวิเคราะห์ แก้ไข หรือพัฒนาบริหารจัดการข้อมูลให้มีความเป็นปัจจุบัน และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อนิสิตมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะดังกล่าวแล้ว ก็จะสามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ประกอบกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อนำไปวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นการจัดการศึกษาภาคสนามนั้นถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาอย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเพราะการพาผู้เรียนไปออกภาคสนามนั้น ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ และช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น
ที่มา : วันที่ : 13 56 18:54 น. หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
บทความใหม่กว่า
บทความที่เก่ากว่า
หน้าแรก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น