ศึกษาดูงานนอกพื้นที่

เสียงเพรียกจากพงไพร

ภูมิศาสตร์มหาสารคาม ขอเป็นหนึ่งเสียงในการอนุรักษ์ทรัพยากรของโลกให้คงอยู่ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2556

ดาวเทียมแลนด์แซท 8

ดาวเทียมแลนด์แซท 8 ได้ส่งข้อมูลภาพแรกกลับมาแล้ว
 
          เมื่อวันที่18 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมาดาวเทียม Landsat 8 ดาวเทียมดวงใหม่ล่าสุดในโครงการ Landsat Data Continuity Mission (LDCM) ได้ส่งข้อมูลภาพชุดแรกตั้งแต่ได้ถูกปล่อยขึ้นสู่วงโคจร ซึ่งเป็นภาพที่ถ่ายด้วยเซนเซอร์ Operational Land Imager (OLI) and the Thermal Infrared Sensor (TIRS) บริเวณป้อมปราการคอลินส์ รัฐโคโลราโด ประเทศอเมริกา
          ข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซท 8 มีรายละเอียดภาพ 15 เมตร ซึ่งข้อมูลจากดาวเทียมภาพบนเป็นภาพสีผสมจริง ในขณะที่ภาพด้านล่างเป็นภาพสีผสมเท็จ แบนด์ R:G:B 7:5:3 ด้วยเทคนิคการผสมสีจริง ทำให้ได้ข้อมูลภาพที่เสมือนที่ตาเรามองเห็นจริงตามข้อมูลภาพด้านบน เมืองปรากฏเป็นสีเทาล้อมรอบด้วยเส้นโค้งนั้นก็คือถนน เมฆที่ปรากฏเป็นสีขาวบริเวณกลางภาพทำให้เกิดเงาที่รูปร่างเหมือนกันบนพื้นผิวโลก ส่วนพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้ก็จะปรากฎเป็นสีเขียวเข้มแกมดำอย่างชัดเจน
          ส่วนภาพล่างผสมด้วยเทคนิคภาพสีผสมเท็จทำให้ได้ภาพที่ไม่เหมือนกับที่ตาเรามองเห็นซะทีเดียว พืชพรรณบริเวณบนภูเขาปรากฏเป็นสีเขียวอย่างชัดเจน บริเวณเมืองปรากฏเป็นสีม่วง หิมะปรากฏเป็นสีฟ้าอ่อน ส่วนพื้นที่ว่างเปล่าเปิดโล่งก็ปรากฏเป็นสีโทนชมพู พื้นที่ที่ถูกไฟไหม้จะปรากฏเป็นสีแดงซึ่งสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนทำให้เราคำนวณพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายได้อย่างง่ายดาย
          ดาวเทียมแลนด์แซท 8 ได้ถูกส่งขึ้นสูงวงโคจรเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 ด้วยเทคโนโลยีที่ใหม่กว่าชุดดาวเทียมที่ผ่านมาทำให้สามารถเก็บข้อมูลภาพได้มากขึ้นในแต่ละวันและเสถียรมากขึ้น ดาวเทียมแลนด์แซท 8 มาพร้อมกับสองช่วงคลื่นใหม่ที่สามารถตรวจจับเมฆและน่านน้ำใกล้ฝั่งได้ดีขึ้น
โครงการปฏิบัติการสำรวจโลกด้วยแลนด์แซทได้วางแผนการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลและการควบคุมตัวดาวเทียมไปจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม 2556 หลังจากนั้นก็จะส่งมอบให้กับ U.S.Geological Survey พร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น Landsat 8 อย่างเป็นทางการต่อไป

ข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซท 8 ภาพสีผสมจริง บันทึกภาพวันที่ 18 มี.ค. 2556
 

ข้อมูลจากดาวเทียมแลนด์แซท 8 ภาพสีผสมเท็จ บันทึกภาพวันที่ 18 มี.ค. 2556


ที่มา : http://earthobservatory.nasa.gov ,http://gisda.or.th


GRM สำรวจพื้นที่ภาคสนาม ณ เกาะสมุย

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ฯ มมส. ออกศึกษาสำรวจลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ณ เกาะสมุย

         เมื่อวันที่ 5-9 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา อาจารย์ ดร.สาวิตรี รตโนภาส สุวรรณลี หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้นำนิสิตสาขาวิชาภูมิศาสตร์พัฒนาเพื่อการจัดการทรัพยากร ชั้นปีที่ 3 จำนวน 34 คน ออกศึกษาสำรวจลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ณ เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี ตามโครงการศึกษาดูงานนอกสถานที่ทางภูมิศาสตร์ได้มีการส่งเสริมให้นิสิตได้นำเอาความรู้ที่ได้รับจากการเรียนการสอนในห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในประสบการณ์จริงได้อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้นิสิตได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันรู้จักการทำงานเป็นทีมมากขึ้น โดยได้ทำการแบ่งนิสิตออกเป็น 4 กลุ่ม เพื่อศึกษาเส้นทางการเดินทางและลักษณะทางกายภาพของแต่ละภาค คือ
       1. ศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจ
       2. ศึกษาลักษณะทางสังคม
       3. ศึกษาลักษณะทางวัฒนธรรม และ
       4. ศึกษาลักษณะทางการท่องเที่ยว
ซึ่งในปัจจุบันนี้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ได้มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านภูมิสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เทคโนโลยีการรับรู้ระยะไกล (Remote Sensing) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยดาวเทียม (Global Positioning Systems-GPS) และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Systems-GIS) ได้มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสร้างความมั่นคงของประเทศในหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งแต่ละหน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ได้มีการประยุกต์และพัฒนาการนำมาได้ซึ่งข้อมูลไปใช้ รวมถึงการพัฒนาโปรแกรมไว้ใช้ในเฉพาะหน่วยงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และสอดคล้องตามภารกิจการทำงานของหน่วยงานต่าง ๆ
          เนื่องจากการเรียนในสาขาวิชาภูมิศาสตร์พัฒนาเพื่อการจัดการทรัพยากรนั้นมีความจำเป็นต้องศึกษาลักษณะ ภูมิอากาศ และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ ของพื้นที่จริงประกอบกับองค์ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในห้องเรียน โดยลักษณะภูมิอากาศนั้นเป็นการศึกษาลักษณะจำเพาะของภูมิภาคเขตร้อน การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม ที่มีผลกระทบต่อการเกิด ลม ฟ้า อากาศ แร่ หิน ต่างๆ และการศึกษาเทคโนโลยีระบบสารสนเทศ เป็นการเน้นในเรื่องของเครื่องมือ เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาวิเคราะห์ แก้ไข หรือพัฒนาบริหารจัดการข้อมูลให้มีความเป็นปัจจุบัน และทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเมื่อนิสิตมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะดังกล่าวแล้ว ก็จะสามารถนำองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ประกอบกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เพื่อนำไปวิเคราะห์ และประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นการจัดการศึกษาภาคสนามนั้นถือเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาอย่างแท้จริง ทั้งยังเป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเพราะการพาผู้เรียนไปออกภาคสนามนั้น ถือว่าเป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ และช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น










 



 
 





 
ที่มา : วันที่ : 13 56 18:54 น. หมวดหมู่ : ข่าวประชาสัมพันธ์

ทวีปยุโรป


   ทวีปยุโรป
           ทวีปยุโรป ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของทวีปเอเชีย ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน และอยู่ในซีกโลกเหนือทั้งหมด ไม่มีดินแดนส่วนใดของทวีปอยู่ใต้เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ บริเวณใต้สุดของทวีป อยู่ในแนวเดียวกันกับตอนกลางของประเทศจีนและตอนใต้ของญี่ปุ่น คือ อยู่ระหว่างละติจูด 36 องศา 1 ลิปดาเหนือ ถึง 71องศา10ลิปดาเหนือ  และระหว่างลองจิจูด 66 องศาตะวันออก ถึง 9องศา30ลิปดาตะวันตก ยุโรปเป็นทวีปที่มี ขนาดเล็ก รองจากทวีปออสเตรเลียซึ่งมีขนาดเล็กที่สุด พื้นดินของทวีปยุโรป ติดต่อเป็นผืนเดียวกันกับทวีปเอเชีย จึงมีผู้เรียกทวีปทั้งสองนี้ว่า ยูเรเชีย 
        เส้นกั้นพรมแดนธรรมชาติได้แก่ เทือกเขาอูราล แม่น้ำอูราล ทะเลสาบ แคสเปียน เทือกเขาคอเคซัส ประกอบด้วยประเทศต่าง ๆ ถึง 43 ประเทศโดยกระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ 4 ภูมิภาค คือ ยุโรปเหนือ ยุโรปใต้ ยุโรปตะวันตก และ ยุโรปตะวันออก 

        ขนาด
         เนื้อที่ของทวีปยุโรปมีขนาด 9.94 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก
และมีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปออสเตรเลีย ถ้าเปรียบเทียบกับทวีปเอเชียจะมีขนาดกว้างกว่า
ถึง 4.5 เท่า 
อาณาเขตติดต่อของทวีปยุโรป

ทิศเหนือ   ติดกับมหาสมุทรอาร์กติก น่านน้ำตอนเหนือได้แก่ ทะเลขาว ทะเลแบเรนต์ส
ทิศตะวันออก   ติดต่อเป็นผืนแผ่นดินเดียวกันกับทวีปเอเชีย โดยมีเทือกเขายูราล แม่น้ำยูราล ทะเลแคสเปียน ทะเลดำ และ เทือกเขาคอเคซัส เป็นแนวเขตแบ่งทวีปทำให้ดินแดนของประเทศรัสเซีย และตุรกีตั้งอยู่ทั้งในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย
ทิศใต้    ติดกับ ทะเลแคสเปียน เทือกเขาคอเคซัส ทะเลดำ ทะเลมาร์มะรา และ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ทิศตะวันตก ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก มีทะเลต่าง ๆ คือ ทะเลนอร์วีเจียน ทะเลเหนือ ทะเลไอริช และทะเลบอลติกมีเกาะสำคัญได้แก่ เกาะบริเตนใหญ่ เกาะไอร์แลนด์เกาะไอซ์