ภาวะโลกร้อน
คงไม่เป็นคำถามที่ถึงกับโลกแตก เพราะโลกของเราตอนนี้เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาว แถมบางวัน ฝนตกอีก ส่วนสาเหตุนั้นก็ไม่ใช่อะไรอื่นเพราะอุณหภูมิโลกของเราเกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นเอง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความไม่สมดุลของก๊าชในบรรยากาศ โดยเฉพาะเจ้าคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีมากเป็นพิเศษ จากสารพัด กิจกรรม และ พฤติกรรมของพวกเราชาวโลกเรานั้นเอง
ก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ จริงๆ แล้วมีประโยชน์ช่วยกักเก็บความร้อนที่โลกของเราได้รับจากดวงอาทิตย์เอาไว้ ไม่ให้โลกกลายเป็นดาวหนาวเหน็บเสียจนสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ไม่ได้ แต่นานวันเข้าเมื่อโลกพัฒนาเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมการผลิตทั้งสินค้าของกินของใช้ด้วยการเผาผลาญเชื้อเพลิง ล้วนเพิ่มปริมาณก๊าชชนิดนี้ขึ้นในชั้นบรรยากาศมากเกินความจำเป็น และเมื่อก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์รวมตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศมากเข้ามากเข้า ก็กลายเป็นกำแพงหนากักเก็บความร้อนเอาไว้บนชั้นบรรยากาศ หรือที่เรียกกันว่า “ภาวะ เรือนกระจก (Greenhouse Effect)"
ซ้ำยังมีการทำร้ายต้นไม้ที่เคยทำหน้าที่เป็นเครื่องฟอกอากาศคุณภาพเยี่ยมช่วยดึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาใช้ แล้วเปลี่ยนเป็นออกซิเจนเพิ่มขึ้นตามจำนวนการเพิ่มขึ้นของมนุาย์อีกส่วนแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำคัญอย่างมหาสมุทรก็ทำงานเต็มกำลังจนไม่สามารถจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากไปกว่านี้ได้อีกแล้ว
ผลพวงการกักเก็บความร้อนของภาวะของกระจกพลอยทำให้อุณหภูมิโลกค่อยๆสูงขึ้น จนเกิดเป็น สภาวะโลกร้อน (Global warming) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์บอกว่า" อุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ยสูงขึ้นเพียง 0.1 องศาเซลเซียส ก็ทำให้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยแล้ว"
ยิ่งช่วงนี้อุณหภูมิเปลี่ยนบ่อยแบบถี่ยิบ เพราะอุณหภูมิโลกทำท่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยเดิม ถึงเกือบ 1 องศา ซึ่งจากการอ่านและได้ยินได้ฟังมา แค่เปลี่ยนแปลงถึง 2 องศาเซลเซียส โลกก็จะเข้าสู่่วิกฤตแล้ว ถึงยังมีแนวโน้มจะเป็นเช่นนั้นในอีกไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า และอุณหภูมิโลกยังจะเพิ่มเฉลี่ยสูง 6 องศาเซลเซียส ภายใน 100 ปีนับจากนี้! เพราะแม้จะมีการรณรงค์กันอย่างหนัก แต่ส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมฉาบฉวย เช่น การใช้ถุงผ้าแต่ดันนำไปใส่ถุงพลาสติก หรือการนัดกันปิดไฟ 5 ถึง 10 นาที ซึ่งน้อยเกินไปหากเทียบกับกิจกรรมหลักคือ ภาคอุตสาหกรรมและกิจกรรมใน ครัวเรือน รวมทั้งภาคเกษตรกรรมที่ยังคงผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตัวการภาวะ เรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอย่างต่อเนื่อง
ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก อันนำไปสู่สภาวะโลกร้อน
1. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (co₂) ถูกปล่อยออกมาจากภาคอุตสาหกรรมและการคมนาคมมากที่สุด โดยมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงถ่านหินเพื่อผลิตสิ่งต่างๆ การเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องยนต์ รวมทั้งการผลิตไฟฟ้า ทำให้ปัจจุบันมีก๊าซชนิดนี้อยู่ถึง 383 ppm ในชั้นบรรยากาศ
2. ก๊าซมีแทน (ch₄) ตัวการภาวะเรือนกระจกหมายเลข 2 สามารถเกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม เช่น ของเสียหรือมูลจากการเลี้ยงสัตว์ การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ฟอสซิลและน้ำมันรวมทั้งการทำเหมืองถ่านหิน ก๊าซชนิดนี้ในชั้นบรรยากาศมีอยู่ประมาณ 1.8 ppm และคิดเป็น 17% ของก๊าซที่เป็นสาเหตุของภาวะเรือนกระจก แต่ เห็นน้อยๆ อย่างนี้แค่โมเลกุลของมีเทนกลับสามารถดูดกลืนความร้อนได้มากกว่าคาร์บอน ไดออกไซด์ถึง 25 เท่า
3. คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chlorofluorocarbon-CFC) เป็นก๊าซสังเคราะห์ขึ้นเพื่อใช้ผลิตโฟม ใช้เป็นก๊าซขับดันในกระป๋องสเปรย์ ที่สำคัญใช้เป็นสารทำความเย็นในแอร์ ตู้ เย็น แต่แปลกเพราะเรายิ่งใส่สารทำความเย็นโลกกลับยิ่งร้อนขึ้น จึงมีการรณรงค์ให้เลิกใช้ก๊าซชนิดนี้ในตู้เย็น และเครื่องปรับอากาศรุ่นใหม่ๆ ทำให้สามารถลดการใช้ทั่วโลกไปได้ ถึง 40% อย่างไรก็ตามในชั้นบรรยากาศยังมีเจ้าซีเอฟซีนี้อยู่ 1 ppm คิดเป็น 5% ของก๊าซเรือนกระ จกทั้งหมด
4. ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N₂o) ก๊าซชนิดนี้เกิดขึ้นได้เองตามธรรมชาติ และจากการใช้ปุ๋ยไนเตรดในไร่นา การขยายพื้นที่เพาะปลูกการเผาไหม้เผาหญ้ามูลสัตว์ที่ย่อยสลาย และ เชื้อเพลิงถ่านหินจากอุตสาหกรรมที่ใช้กรดไนตริกในกระบวนการผลิต เช่น อุตสาหกรรม ผลิตเส้นใยไนลอน อุตสาหกรรมเคมี หรืออุตสาหกรรมพลาสติก รวมทุกชนิดซึ่งไม่ว่าจะด้วยวิธีการไหนก็ทำให้มีไนตรัสออกไซด์บนชั้นบรรยากาศอยู่ 0.3 ppm คิดเป็น 12% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด
5. ก๊าซโอโซน ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อว่าพออากาศวิปริตผิดเพี้ยน เจ้าโอโซนก็โดนพวกมากลาก ไปด้วย จากการทำหน้าที่ปกป้องผิวหนังเราจากรังสีไวโอเลต (UV) แต่ทำไปทำมาหน้าที่พลีชีพ กักเก็บความร้อน ดันกลายเป็นหนึ่งในแนวเริ่มสร้างภาวะเรือนกระจกมากถึง 13% จาก ปริมาณที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศ 0.03 ppm
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน
1. ชายฝั่งถูกกัดเซาะ อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทำให้ธารน้ำแข็งทั่วโลกละลายเร็วขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งหลายแห่งจึงถูกกัดเซาะอย่างจังหวัดสมุทรปราการ ก็สูญเสียไปกว่า 11,000 ไร่
2. น้ำในทะเลสาบสูญหาย กรณีนี้เกิดขึ้นมากในแถบขั้วโลกเหนือช่วง 20-30 ปีมานี้ เมื่อน้ำแข็งที่เกาะตัวอยู่ใต้ทะเลสาบละลายจนหมด ทะเลสาบนั้นก็มีสภาพไม่ต่างจากการที่เราดึงจุกปิดน้ำออกจากอ่างล้างจานอย่างไรอย่างนั้น
3. เกิดพายุรุนแรงมากยิ่งขึ้น สภาวะโลกร้อนทำให้เอุณหภูมิระหว่างผืนดินและผืนน้ำเพิ่มมากขึ้นและยิ่งมากยิ่ง ก่อให้เกิดแรงกดอากาศสูงนำไปสู่พายุลูกใหญ่ และถี่เหมือนที่ปรากฏเป็นข่าวให้เห็นบ่อยๆ
4. ชนวนเกิดไฟป่า นอกจากพายุนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันว่าโลกร้อนยังทำให้เกิดไฟป่าได้ง่าย โดยมสภาพป่าที่แห้งกรอบเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี
5. ดาวเทียมโคจรเร็วกว่าเดิม ตามปกติโมเลกุลของอากาศจะมีแรงดึงดูดมากพอในการทำให้ ดาวเทียมโคจรช้าๆ ผู้ควบคุมอาจต้องจุดระเบิดเป็นระยะๆ บ้าง เพื่อให้ดาวเทียมโคจรต่อไปอย่างถูกต้อง แต่เมื่อเจ้าคาร์บอนไดออกไซด์ลอยไปสะสมในบรรยากาศชั้นล่างมากขึ้น แรงดึงดูดของบรรยากาศชั้นนอกสุดจะลดกำลังลง ดาวเทียมจึงโคจรเร็วกว่าปกติ ซึ่งไม่เป็นผลดีเลย เพราะอาจเกิดการผิดพลาดจากการสื่อสารที่ใช้ดาวเทียมเป็นหลักได้
แต่ถ้าจะให้ยกตัวอย่างที่รุนแรงมากๆก็ได้แก่
1. น้ำท่วมโลก แม้จะไม่ถึงกับไม่มีแผ่นดินจะอยู่ แต่มีความเป็นไปได้ว่าหากธารน้ำแข็งทั่วโลกยังละลายด้วยอัตราปัจจุบัน จะส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องคุกคามผืนดินมากขึ้น เช่น หมู่ เกาะมัลดีฟส์ ในมหาสมุทรอินเดีย ถูกน้ำท่วมสูงขึ้นถึงปีละ 2 นิ้ว
2. เกิดโรคอุบัติใหม่ ไข้หวัดนก, ซาร์, ไข้หวัด 2009 ล้วนเป็นโรคอุบัติใหม่ หรือโรคที่ไม่เคยพบมาก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งผลมาจากเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ และ อุณหภูมิ ทำให้เชื้อโรคเดิมเกิดการวิวัฒนาการ
3. ผลผลิตทางการเกษตรได้รับความเสียหาย เรื่องนี้เริ่มเห็นได้ชัดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาเมื่อฝนฟ้า ไม่ตก หรือไม่มาตามปกติจนเกษตรกรแทบต้องพับเก็บคู่มือทำการเกษตรของคนรุ่นปู่รุ่นย่า ผลผลิตที่ ขาดแคลนส่งผลให้ราคาพืช, ผัก, ผลไม้ในตลาดโลก ปรับตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ ถึงขนาดคาดการณ์กันว่าจะเกิดภาวะขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ได้ในอนาคต!
4. สัตว์ไร้ที่อยู่และสูญพันธุ์ ผลจากน้ำท่วมและสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงทำให้สัตว์หลายชนิดอาจต้องตระเตรียมหาที่อยู่ใหม่ เพราะแหล่งที่อยู่เดิมขาดแคลนอาหาร อันเป็นผลมาจากภัยแล้ง บางส่วนอาจต้องสูญหาย เช่น หมีขาวขั้วโลก และนกเพนกวิน ที่ไม่มีบ้านให้อยู่เนื่องจากธารน้ำแข็งทั่วโลกละลายกลายเป็นน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว ขณะที่นกอพยพก็เร่งปรับตัวจูนนาฬิกาชีวภาพในตัวของมันให้เข้ากับสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปไม่อย่างนั้นก็เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เพราะการหลงทิศทางของมัน
5. วิกฤตของระบบนิเวศในทะเล เมื่ออุณหภูมิโลกสูงขึ้น น้ำในทะเลก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นตามไปด้วย เชื้อโรคต่างๆใต้สมุทรจึงเติบโตได้ดี ทำให้น้ำทะเลกลายเป็นกรดส่งผลให้ปะการังเกิดการฟอกขาว ซึ่ง เป็นการส่งสัญญาณว่าพวกมันกำลังจะตายลง คราวนี้จะเป็นเรื่องยุ่งขึ้นมาทันที เพราะปะการังเป็นจุด เริ่มต้นของห่วงโซ่อาหารในท้องทะเล เมื่อไม่มีปะการัง ปลากินพืชจะขาดสารอาหารและย่อมตายตามสิ่งที่ตามมาคือ ปลากินเนื้อก็อยู่ไม่ได้เช่นกันเมื่อพร้อมใจกันจากเสียขนาดนี้..มหาสมุทรจะกลายเป็นท้องน้ำ ไร้ชีวิต ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกกักเก็บไว้ก็ถูกปลดปล่อยออกไปเพิ่มความร้อนในชั้นบรรยากาศเป็นเท่าทวี!
ข้อมูลจากสถาบัน IPCC (The intergovernmental Panel on Climate Change) รายงานว่าโลกจะถึงจุดอันตราย หรือ Point of No Return หากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศเพิ่มถึงระดับ 400 ppm จากปัจจุบันมีอยู่ราว 383 ppm ปรากฏว่าเรื่องนี้มีคนแย้งแถมยังเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่นิตยสาร Time ยกย่องให้เป็น 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลของโลก ดร.เจน แฮนเช่น ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิอากาศเบอร์ 1 ของ NASA สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์คนเก่งท่านนี้ค้นพบก็คือ "ระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ใน โลก ได้เดินมาถึงจุดที่เป็นอันตรายตั้งแต่แตะที่ตัวเลข 350 ppm แล้ว"
350 ppm คืออะไร ?
350 ppm คือ จำนวนที่สำคัญที่สุดในโลก มันเป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าเป็นค่าสูงสุดที่ ปลอดภัยสำหรับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ สามปีที่แล้วหลังจาก "climatologists" ชั้นนำพบน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็วในอาร์กติก และอาการอื่นๆ น่ากลัวการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะออกระเบียนการศึกษาแสดงว่าโลกต้องเผชิญทั้งมนุษย์ และธรรมชาติ disaster ถ้าความเข้มข้นในบรรยากาศของ CO2 อยู่เหนือ 350 ส่วนต่อล้านทุกคนจาก Al Gore ที่นักวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศของสหประชาชาติด้านบนมี embraced ตอนนี้เป้าหมายนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเสถียรภาพดาวเคราะห์และป้องกันภัยสมบูรณ์ ขณะนี้เคล็ดลับคือการเป็นผู้นำของเราให้ความสนใจ และนโยบาย ฝีมือที่จะทำให้โลกได้รับรู้ถึงความน่ากลัวของ 350
เราจึงต้องช่วยเหลือโลกของเรา
เราจึงต้องช่วยกันทำให้ปริมาณก๊าซวายร้ายชนิดนี้ ลดลงมาอยู่เท่ากับหรือต่ำกว่า 350 ppm ว่าแล้ว ดร.เจน แฮนเช่น จึงเปิดเว็บไซด์ www.350.org เพื่อใช้เป็นช่องทางเผยแผ่และรณรงค์ในเรื่องนี้
โดยมีการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรามีภาพและวีดีโอมาฝากให้รับชมด้วย
"โลกร้อน ลดง่ายๆ"
ร่วมแรงร่วมใจทำให้โลกแบบไม่ต้องนัดหมาย แล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ ลดโลกร้อนวิธีแรกก็ง่ายๆ
อันนี้ง่ายมาก ท่องจำไว้เลยว่า ไฟฟ้าทุกยูนิตไม่ได้มาฟรี ในกระบวนการผลิตล้วนต้องใช้น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ ที่ก่อให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้น ยิ่งใช้ไฟมากเข้ามากเข้า ก๊าซเรือน กระจกก็ย่อมเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นมาช่วยกันประหยัดไฟ ซึ่งทำได้สบายๆ ง่ายจัง ดังนี้
1. ปิดไฟ ถอดปลั๊กทุกครั้ง เมื่อไม่ได้ใช่งานเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนั้น
2. เลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเครื่องหมายประหยัดไฟ เบอร์ 5 ส่วนหลอดไฟ ควรเลือกใช้หลอดตะเกียบที่กินไฟน้อย แถมใช้ได้ยาวนานกว่า อีกด้วย
3. ถ้าต้องเปิดแอร์คลายร้อน ควรปรับอุณหภูมิให้ไม่ต่ำกว่า 25 องศา เซลเซียส เพราะเป็นระดับที่ใช้ไฟฟ้าได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
4. ใช้น้ำร้อนให้น้อย ไม่ว่าต้มดื่มหรือใช้เครื่องทำน้ำอุ่น เพราะการทำความร้อนสิ้นเปลืองไฟมาก
5. รีดผ้าครั้งละมากๆ ส่วนเหตุผลก็เหมือนข้อข้างบนเปี๊ยบ
การผลิตถุงพลาสติกแต่ละใบได้ผลพลอยได้เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มหาศาล ทั้งพอถูกใช้และทิ้งขว้างอย่างไม่ใยดี ก็วนกลับไปซ้ำเติมสิ่งแวดล้อมด้วยความเป็นขยะย่อยยากอย่างเร็วก็แค่ 450 ปีเท่านั้นเอง และถ้าคิดจะเผาทิ้งเสียเลย สิ่งที่ได้มาก็คือ ก๊าซเรือนกระจกเจ้าเก่า รับประกันไม่ร้อนยินดีคืนเงิน
1. ฝึกพูดคำว่า “ไม่ต้องใส่ถุง” กับผู้ขายเวลาซื้อของชิ้นเล็กชิ้นน้อยขนมขบเคี้ยวหรือน้ำดื่ม ที่ไม่กี่นาทีหลังจากนั้นจะต้องไปอยู่ในถังขยะ
2. เปลี่ยนไปใช้ถุงผ้าแบบเขาฮิตกันนี่แหละ ไม่ต้องแคร์สื่อหรอกหากใครว่าเราตามกระแส
3. ใช้ถุงพลาสติกเหมือนเดิมก็ได้ แต่ใช้ซ้ำๆ ย้ำๆ หรือพกถุงพลาสติกไว้กับตัวตลอดเวลาพร้อมควักมาใช้แทนถุงใบใหม่จากร้านค้าได้ทุกเมื่อ
4. ขวดพลาสติกก็มีความสำคัญ ถ้าเป็นไปได้ควรใช้ขวดน้ำแบบใช้ซ้ำได้แทนการดื่มน้ำจากขวดพลาสติกแบบเดิม
5. ทุกอย่างที่เป็นพลาสติก ควรพยายามใช้ซ้ำๆ ย้ำๆ ให้นานที่สุด เพื่อลดการผลิตเพิ่มซึ่งเป็นผลอันตรายถึงการเพิ่มของก๊าซเรือนกระจกให้แก่โลกด้วย
คราวนี้ก็มาถึงเรื่องปากท้อง ใครคิดว่าการทำเกษตรเป็นตัวการสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะโลกร้อน โดยเฉพาะภาคปศุสัตว์ ที่ทำให้ก๊าซเรือนกระจก ที่ร้ายกาจยิ่งกว่าอย่างมีเทนและไนตรัสออกไซด์ ก๊าซมีเทนดูดซับความร้อนได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 21 เท่า ส่วนไนตรัสออกไซด์ ไปไกลกว่านั้น ดูดได้อีกถึง 300 เท่า องค์การเอกชนโลกสีเขียวหรือ Green Peace เคยทำรายงานบวกลบคูณหารว่า กว่าจะได้เนื้อวัว 1 ก.ก. เกิดก๊าซเรือนกระจก 12.9 ก.ก. ถ้า เป็นเนื้อหมูก็ 6.35 ก.ก. ส่วนเนื้อไก่และเนื้อสัตว์ปีกอื่นๆ จะอยู่ที่ 4.57 ก.ก. นอกจากนี้การเลี้ยงวัว 1 ตัว เพื่อนำไปใช้ เป็นอาหาร ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่าได้กับการขับรถปล่อยควันพิษ เป็นระยะทางถึง 70,000 กิโลเมตรเลยทีเดียว ซึ่งก๊าซเหล่านี้เกิดจากการหายใจ การผายลม และมูลของสัตว์ นอกจากนี้และให้ได้มาซึ่งพืชอาหารสัตว์จำนวนมหาศาล พื้นที่ป่ามากมายจึงถูกทำลายครึ่งหนึ่งของ พืชอาหารสัตว์เหล่านี้ เพียงพอสำหรับความบรรเทาความหิวโหยให้กับผู้ขาดแคลนอาหารได้มากมาย
1. ลดการทานเนื้อสัตว์ เพราะเนื่องจากจะช่วยการลดก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม ยังได้บุญ และดีต่อสุขภาพทั้งคนทั้งโลก
2. เลือกทานพืชผักผลไม้ หรือทานอาหารมังสวิรัติ นอกจากมีข้อดี เมื่อตะกี้แล้ว ยังเป็น การสร้างรายได้ให้ชาวไร่ชาวนาอีกทางหนึ่งด้วย
3. ทานเสร็จแล้ว ถ้าเหลือแล้วก็ต้องแยกเศษผักเศษอาหารออกจากขยะอื่น เพื่อป้อง กันการหมักหมมจนเกิดเป็นก๊าซมีเทน
4. ปลูกต้นไม้ชดเชย พื้นที่ป่าซึ่งถูกเปลี่ยนไปเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ และเลือกสวนไร่นาแค่ต้นเดียวก็สามารถช่วยโลกช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 1 ตัน ตลอดอายุขัย
น้ำมัน คืออาหารสำคัญของเครื่องยนต์ ช่วยให้เราเดินทางไปไหนต่อไหนได้และควันขาวๆ ดำๆ ที่พ่นออกมาจากท่อไอเสีย ทั้งรถ เรือ เครื่องบิน ก็คือสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งของภาวะโลก ร้อน
1. เดินทางกันแบบทัวร์ยกแก๊ง ใครไปไหนถ้าใกล้ฉัน ไปด้วย
2. ใช้ระบบขนส่งมวลชนให้มากขึ้น ถ้าไม่ชอบคนเยอะแยะ ขอแนะนำจักรยาน น่องโต สวยได้ โดยไม่ ต้องสร้างมลพิษ
ปฏิบัติการกิจข้างต้นอย่างสม่ำเสมอแล้ว ยามว่างๆอยากชวนมานั่งพักดูภาพยนตร์เกี่ยวกับ โลกร้อน ซึ่งมีอยู่มากมายหลายเรื่อง และเกือบทั้งหมดช่วยสร้างจิตสำนึกทำให้เกิดความตระหนักและเพิ่มการตื่นตัวในการอนุรักษ์ได้เป็นอย่างดี ขอแนะนำหนังดีๆอย่าง The day after tomorrow ที่คงทำให้หลายๆคนกลัวโดนแช่แข็งเหมือนในหนังแน่ๆ
ขอบคุณข้อมูลจาก